วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น. และวันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น. 

DANCE FOR FUN 2


START

(เกริ่นนำ : ก่อนว่าวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะนี้นั้นมีอาจารย์ผู้สอน 2 ท่านด้วยกันโดยจะแบ่งดังนี้ วันจันทร์นั้นจะเรียนเกี่ยวกับทฤษฏีหรือเนื้อหาในด้านวิชาการต่างๆ ผู้สอนคือ ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาดหรือเรียกสั้นๆง่ายๆว่าอาจารย์บาส ส่วนใน วันพฤหัสบดีนั้นจะเป็นการเรียนในเชิงการปฏิบัติ ผู้สอนคือ อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอาจารย์เบียร์)

ครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.

เนื้อหาในวันนี้ 

การจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ความหมาย
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระโดยมีจังหวะและดนตรีที่นำมาใช้ประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ จังหวะ และการควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ การที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะ เป็นกระบวนการสำรวจตนเองเด็กที่ขาดทักษะในการเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรได้รับการกระตุ้นเพื่อให้เก็กค้นหาคำตอบด้วยตนเองจุดสนใจอยู่ที่กิจกรรม มากกว่าผู้อื่น 
  • สัญญาณที่ใช้กำหนดการเคลื่อนไหวมีดังนี้ 
1. เสียงจากคน เช่นการนับ การออกเสียงคำ
2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะการตีเครื่องดนตรีที่ทำจากเหล็ก หนัง และอื่นๆ
3. การครบมือการดีดนิ้วเป็นจังหวะ
  • ความเป็นมา
มนุษเรานั้นมีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง จังหวะธรรมชาติ >> กระแสน้ำ ลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง
จังหวะกิจวัติประจำวัน >> การเดิน การวิ่ง การขึ้นลงบันได การกระโดด เป็นต้น
  • ความสำคัญ
มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้ ควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเคลื่อนไหวและจังหวะจะช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียดทางการหายใจ สามารถปรับตัวด้านสังคมได้ดีขึ้นผู้ใหญ่น้นควรที่จะคำนึงถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของเด็ก การเคลื่อนไหวนั้นยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ อีกด้วย
  • ขอบข่าย
1. การเคลื่อนไหวพี่ฐาน (จะแบ่งออกเป็นการเคลื่อนไหวอยูุ่กับที่และการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่)  2. การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ 3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง 4.การเล่นเกมประกอบเพลง  5. การเคลื่อนไหวเชิ่งสร้าสรรค์ 6. การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย
  • องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย บริเวณและเนื้อที่ ระดับของการเคลื่อนไหว ทิศทางของการเคลื่อนไหว และ การฝึกจังหวะ 
  • พัฒนาการร่างกายและการเคลื่อนไหว
2-6 ปี เคลื่อนที่ได้มากขึ้นเดินได้อย่างมั่นคงเพราะมีความแ็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น รวมไปถึงทักษะอื่นๆ เด็กในช่วงวัยนี้ควรได้รับการเคลื่อนไหวแบบต่างๆเสมอ
  • พัฒนาการด้านกล้มเนื้อใหญ่
2-3 ปี เดินได้อย่ามมั่นคงเดินถอยหลังได้ ยืนขาเดียว กระโดดอยู่กับที่ เดินเข่งเท้าได้ เป็นตน
3-4 ปี ขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ยืนขาเดียวได้นานขึ้น กระโดขาเดียวได้ เป็นต้น
4-5 ปี กระโดสลับเท้าได้ กระดดข้ามสิ่งกีดขวางที่ไม่สูงมากได้ เดินต่อเท้าถอยหลังได้ เป็นต้น
5-6 ปี วิ่งได้อย่างรวดเร็วและสามาถหยุดได้ทันที กระดดขาเดียวไปด้านหน้าได้ เดินต่อเท้าบนขอนไม้หรือกระดานแผ่นเดียว เต้นตามจังหวะเพลงได้
  • หลัการจัดกิจกรรม
ควรเริ่มให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างอิสระไม่ควรเป็นระเบียบและวิธีการยุ่งยากจนเกินไปให้เด้กแสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระแป็นไปตามความนึกคิดของเด็กซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความนึกคิด ความสู็สึกต่างๆ ครูต้องเปิดโอกาศให้เด็กคิดหาวิธีการเคลื่อนไหวแบบที่ต้องเคลื่อนที่เป็นรายบุคคล เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มตามลำดับ ให้เด็กได้เลียนแบบบในเรื่องต่างๆ เช่น กิจกรรมตามธรรมชาติ ชีวิตรอบตัวเด้ก ชีวิตสัตว์ต่างๆ ความรู้สึก เสียงต่างๆ พยายามหายสิ่งของรอบตัวเด็กมาใช้เป้นอุปกรณ์ในกิจกรรม ครูควรกำหนดจังหวะสัญญาณ ต้องไม่บังคับเด็ก ครูจัดเตรียมกิจกรรมทุกวัน ประมาณ 15 - 20 นาที
  • เนื้อหาการจัดกิจกรรม
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี การฝึกการเป้นผู้นำผู้ตาม การฝึกความจำ การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ประกอบเพลง การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ การฟังและการปฏิบัติตามคำสั่งคำบรรยาย
  • จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม
เพื่อทำให้เด็กได้ออกกำลังกาย พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายไห้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน เพื่อฝึกการฟังและทำตามคำสั่ง ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามพัฒนาทักษะทางด้านสังคม การปรับตัว และการร่วมมือในกลุ่ม เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรคื พัฒนาฝึกภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง ฝักระเบียบวินัย เรียนรู็จังหวะ ความกล้า ความจำ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • บทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ครูควรสร้างบรรยากาสให้เด็กๆเกิดความกล้า เมื่อเด็กคิดไม่ออกไม่ควรแนะนำเด็กมากจนเกินไป จัดกิจกรรมวันละไม่น้อยกว่า 15 - 20 นาที ก่อนจบกิจกรรมควรให้เด้กพักผ่อนนิ่งๆอย่างน้อย 2 นาที
  • แนนวทางการประเมิน
สังเกต การเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกาย การทำสิ่งแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน การทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง การแสดงอออก ความสนใจที่มีต่อกิจกรรม


บรรยากาศ



ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น. 

เมื่อเราเรียนเรื่องทฤษฎีและเนื้อหากันมาพอสมควรแล้วกับอาจารย์บาส ในวันนี้เราจะมาเรียนการลงมือปฏิบัติกัน ในวันนี้เป็นวันที่ต้องส่งการบ้านที่อาจารย์ได้มอบหมายให้เมื่อในสัปดาห์ที่แล้ว ในโจทย์ของการเต้นกับเพลงที่ชอบ โดยให้นักศึกษาไปซ้อมเต้นเพลงที่ชอบมา 1 เพลง เต้นจากท่อนแรกจนถึงท่อนฮุกตอนต้น ในวันนี้บรรยากาศในการเรียนนั้นดูตื่นเต้นเป็นพิเศษเพราะไม่ใช่แค่เพื่อนๆเท่านั้นที่ตื่นเต้นตัวของหนูเองนั้นก็ตื่นเต้นด้วยเช่นกัน เกิดอาการตื่นเวทีนิดหน่อยแต่สุดท้ายก็ผ่านมันไปได้อย่างฉัวเฉียด

เรามาดูภาพเก็บตกบรรยายกาศในการเต้นกันเถอะ >///<


หน้าม้า


ช่างภาพ


กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 

ผู้เข้าประกวด (หนูเอง)






ผู้เข้าประกวดอีกหลายชีวิต มีทั้งแบบคู่และแบบเดี่ยว
มีแตผู้เข้าประกวดเด็ดๆทั้งนั้นเลยกรรมการคงจะหนักใจ 
^{+++}^

เมื่อจบการประกวดเดอะสตอกันไปล้าว ต่อมาก็เข้าการเรียนการสอน
เริ่มจากกิจกรรมแรกคือการบริหารสมองฝึกสมาธิเพื่อที่จะได้มีสมาธิจดจ่อกับการเรียน 
จากนั้นอาจารย์ก็ได้นำนักศึกษาเคลื่อนไหวในแบบการเคลื่อนไหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวตามแบบกาสัมพันธ์เนื้อหาด้วยการเลือกหน่อยในกาอรสอน จากนั้นก็นำผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากการทำกิจกรรม
อาจารย์ได้แสดงตัวอย่างการสอนกิจกรรมให้เป็นตัวอย่าง ในการสอนจะต้องทำไปพร้อมๆกับเด็กด้วย และที่สำคัญ จะต้องมีเครื่องดนตรีในการให้จังหวะในการดำเนินกิจกรรมด้วย

บรรยากาศเล็กๆน้อยๆ 






การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

  • สามารถนำเนื้อหาความรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้เหมาะสมกับเด็กในแจ่ละช่วงวัยเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัมนาการครบทุกด้าน
  • สามารถนำแบบอย่างการสอนที่อาจารย์ได้จัดกิจกรรมที่เป็นแบบอย่างในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้ในการสอนในอนาคตได้

การประเมินผล

การประเมินตนเอง

มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมซักซ้อมในการเต้นมาเป็นอย่างดีแต่อาจจะมีผิดพลาดเนื่องจากตื่นเวทีนิดหน่อย มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน รวมถึงให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน และการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์

อาจารย์น่ารักเป็นกันเองให้ข้อคิดต่างๆ จัดเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีในทุกๆคาบเรียน บรรยายกาสในการเรียนการสอนสนุกสนาน 


จบการบันทึกครั้งที่ 2

SEE U