วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 

บันทึกการเรีนรู้ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น. และวันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น. 

DANCE FOR FUN 4


START

คร้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.

เนื้อหาวันนี้ 

วันนี้นำเสนองานเป็นกลุ่ม เป็นการนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะ 
ทฤษฎีมีดังนี้
  • ทฤษฎีอาร์โนลด์ กีเซลล์

- ทฤษฎีของอาร์โนลด์ กีเซลล์
 พัฒนาการทางด้านร่างกาย การเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่างๆ สำหรับพัฒนาการทางรางกาย คือการที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดการกระทำ กับวัสดุ การเล่น กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นลูกบอล การขีดเขียน  เป็นต้น เด็กต้องใช้ความสามารถของสายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็ก คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว ระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในด้านการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่างๆของร่างกาย
กีเซลล์ แบ่งพัฒนาการต่างๆเหล่านี้ของเด็ก ออกเป็น 4 ด้านด้วยกัน ดังนี้
            1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว เป็นความสามารถของร่างกายที่ควบคุมอวัยวะต่างๆได้อย่างสัมพันธ์กัน
            2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว สามารถประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวและความรู้สึก
            3. พฤติกรรมทางด้านภาษา เป็นความสามารถในการแสดงออกทางท่าทางและสีหน้า
            4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัว ระหว่างบุคคลกับบุคคลในสภาวะแววดล้อมตามสภาพจริง

  • ทฤษฎีเพียเจต์
- ทฤษฎีเพียเจต์ 
สติปัญญาของคนนั้นมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากัน และจะแตกต่างในช่วงอายุต่างกันพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม บุคคลจะพยายามที่จะปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและการปรับตัวให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัส จากนั้นจึงจะทำให้เกิดความคิดทางรูปธรรมและจะพัฒนาไปเรื่อยๆจนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตามลำดับ การให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆจาส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งจะใช้การรับรู้เปฌนสื่อเพื่อที่จะกระตุ้นความคิดของเด็ก และที่สำคัญเด็กจะต้องได้มีโอกาศเคลื่อนไหวสัมผัสสิ่งต่างๆ ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ใหม่
  • ทฤษฎีบรูเนอร์




- ทฤษฎีบรูเนอร์
พัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในโดยเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนาธรรมที่แวดล้อมเด็ก 
กระบวนการคิด ประกอบด้วยลักษณะ 4 ข้อ 
       1. แรงจูงใจ (Motivation)
       2. โครงสร้าง (Structure)
       3. ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence)

       4. การเสริมแรง (Reinforcement)
การเรียนรู้ของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
       1. ขั้นการกระทำ เด็กเรียนรู้จากการกระทำสัมผัส
       2. ขั้นคิดจินตนาการหรือการมโนภาพ เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ
       3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวยอด เด็กเริ่มเข้าใจการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัวและจากนั้นจะพัฒนาการคิดรวบยอด

  • ทฤษฎีธอร์นไดค์


- กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู็จะเิกดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กมีความพร้อมทั้งกายและใจ เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทสัมพันธ์เพื่อเป็นการฝึกทักษะควรคำนึงถึงความพร้อมในแต่ละช่วงวัย เมื่อเด็กมีความพร้อมมีร่างกายและจิตใจที่พร้อมจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี
- กฎแหงการฝึกหัด เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กจะเกิดทักษะ ซึ่งทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กัน
- กฎแห่งผล เด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าผลการกระทำนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางที่ดี ทำให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ทฤษฎีอัลเบิร์ต แบนดูรา

- ทฤษฎีอัลเบิร์ต แบนดูรา
การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์คนนั้นๆ การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดส้อม เน้นบุคคลการเรียนรู้โดยตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเรียนรู้จากตัวแบบ และการเรียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื้อง โดยอาศัยการสังเกต ประกอบด้วย 4 กระบวนการ 
     1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กเกิดความสนใจที่จะได้เรียนแบบ ควรเป็นพฤติกรรมง่ายๆไม่ซั้บซ้อน จะทำให้ง่ายที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
     2. กระบวนการคงไว้ 
กระบวนการบันทึกรหัสความจำที่เด็กต้องมีความแม่นยำในการบันทึกในสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยิน รวมไปถึงการที่เด็กจะต้องดึงข้อมูลที่ได้จากตัวตนแบบออกมาใช้ เด็กที่มีอายุมากว่าจะเรียนรู็จากการสังเกตการณ์การกระทำของบุคคคลได้มากกว่า และเด็กโตสามารถนำประสบการณ์และสัญลักษณ์ต่างๆ มาเชื่อมโยงและต่อมาจะใช้การเรียนรู้ที่มีเทคทิคมาช่วยเหลือในการจำและสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
     3. กระบวนการแสดงออก 
คือการแสดงผลการเรียนรู้ด้วยการกระทำ จะทำให้เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวต้นแบบ
     4. กระบวนการจูงใจ
กระบวนการเสริมแรงเพื่อให้เดกแสดงพฤติกรรมตัวแบบได้อย่างถูกต้อง เด็กนั้นจะเรียนรู็จากตัวต้นแบบที่มีชื่อเสียงมากกว่าจากบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง เลียนแบบจากบุคคลที่เป็นเพศเดียวกันมากกว่าเพศตรงข้ามกัน เลียนแบบตัวแบบที่เป็นรางวัล แต่พฤติกรรมของบุคคลที่ถูกลงโทษมรแนวฌน้มที่เด็กจะไม่เลียนแบบ ตัวเด็กจะได้รับอิธพลจากตัวต้นแบบ 
  • ทฤษฎีของอิริคสัน

- ทฤษฎีของอิริคสัน
สังคมวัฒนาธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ

อีริคสันได้แบ่งพัฒนาการบุคลิกภาพออกเป็น 8 ชั้น  คือ
ขั้น 1 ขั้นความไว้วางใจ - ความไม่ไว้วางใจ
         วัยทารก เป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยนี้ผู็ดูแลจะต้องดูแลเอาใจใส่
ขั้น 2 ขั้นความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ - ความสงสัยไม่แน่ใจตนเอง
         วััย 2-3 ปี เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ พูดได้ เด็กมีความอิสระพึ่งพาตนเองได้มีความอยากรู้อยากเห็นสัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อสำรวจตรวจสอบสิ่งต่างๆ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงในการเล่น
ขั้น 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม - การรูสึกผิด
         วัย 3-5 ปี เด็กมีความคิดริเริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการการเล่นจึงเป็นส่วนสำคัญที่เด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ สมมุติของต่างๆเป็นของจริงในการเล่น
ขั้น 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ - ความรู้สึดด้อย
ขั้น 5 อัตภาพหรือการรู้จักตนเองเป็นเอกลักษณ์ - การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในทางสังคม
ขั้น 6 ความใกล้ชิดผูกพัน - ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้น 7 ความเป็นห่วงชุมชนรุ่นหลัง - ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้น 8 ความพอใจมนตนเอง - ความไม่พอใขในตนเอง
(3ขั้นแรกเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย) 
  • ทฤษฎีอีพอลทอร์แรนซ์
ความคิดสร้าสรรค์เป็นกระบวนการความรู้สึกที่ไวต่อปัญหา
กระบานการความคิดสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 5 ขั้น
     ขั้น 1 การพบความจริง
ขั้นนี้จะทำให้รู้สึกกังวน วุ้นวายแต่บอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร
     ขั้น 2 การค้นพบปัญหา
เมื่อได้พิจราณาจะทำให้รู้ว่าว่าความสับสนนั้นคืออะไร
     ขั้น 3 การตั้งสมมติฐาน 
เมื่อรู้ปัญหาก็จะรวบรวมข้อมูลต่าง
     ขั้น 4 การแก้ปัญหา
 พบที่มาของปัญหาจากนั้นก็เข้าการทดสอบ
     ขั้น 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ 
ได้รับการพิสูจน์ว่าจะปก้ปัญหาอย่างไร ผลจากการคนพบจะนำไปสู่แนวคิดใหม่
  • ทฤษฎีกิลฟอร์ด
ความสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่ซับซ้อนกว้างไกล จะมีองค์ปรกอบดังนี้
         1. ความคิดริเริ่ม หมายถึงความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกับนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา สามรถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด ความคิดริเริ่มเป็นการทำของเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานทำให้เกิดเป็นความคิดใหม่
         2. ความคิดคล่องแคล่ว แบ่งเป็น 4 ประเภท
- ความคล่องแคล่งด้านถ้อยคำ
- ความคิดคล่องแคล่วด้านการโยงสัมพันธ์ 
- ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก
- ความคล่องแคล่วในการคิด
         3. ความคิดยืดหยุ่น
- ความยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นในทันที
- ความยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง
         4. ความละเอียดละออ

บรรยากาศในการนำเสนอ












ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น. 

วันนี้วันพฤหัสเรามาเรียนปฏิบัติกันหลังจากเราได้รับความรู้จากการนำเสนอทฤษฎีต่างเกี่ยงกับการเคลื่อนไหวและจังหวะจากเพื่อนๆกันไปแล้วในวันจันทร์ วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ให้ให้ข้อคิดต่างๆความรู้ รวมไปถึงการให้กำลังใจเพื่อให้นักตั้งใจเรียนและไม่ท้อ จากนั้นอาจารย์ก็ได้นำนักศึกษาบริหารสมองก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนโดยวันนี้มีเพลงน่ารักน่ารักมาประกอบการสอนด้วยในกิจกรรมแรกหลังจากเตรียมความพร้อมโดยการบริหารสมองไปแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับมือกันเป็นวงกลมเพื่อที่จะทำกิจกรรมในผู็นำผู้ตามโดยเปิดเพลงให้แต่ละคนผลัดกันออกไปทำท่าทางต่างๆ เวียนกันไปจนครบทุกคน จากนั้นก็ให้จับกลุ่ม 5 คน โดยให้แต่ละกลุ่มคิดท่าการเคลื่อนไหวกลุ่มละ10 ท่าจากนั้นก็ให้ออกไปแสดงท่าการเคลื่อนๆไหวหน้าชั้นเรียนโดยให้ในกลุ่มสลับกันออกมาทนท่าคนละ 2 ท่า ต่อมาเป็นกิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ได้ให้นักศึกษาคิดท่าการเคลื่อนไหวของตนเอง คนละ 3 ท่าจากนั้นให้เล่นบทบาทสมมุติว่าตนเองเป็นครูให้ออกไปสอนเพื่อนซึ่งสมมุติว่าเป็นเด็กโดยเราจะต้องอธิบายท่าท่างให้เด็กเข้าใจจากนั้นก็ให้เพื่อนๆทำตาม

เก็บตกบรรยายกาศ



เพลงน่ารักที่ใช้สอนกิจกรรมในวันนี้
>///////<

สาระนอกเนื้อหาและการให้กำลังใจพร้อมความรู้นอกตำรา


บริหารสมองกันหน่อย


เธอนำนะเดี๋ยวเราตามเอง


คิดๆใครเอาท่าอะไรบ้าง


คิดๆๆๆ






ปฐมวัย Show Time




อาจารย์ช่วยหนูด้วย



จบด้วยการออกไปเป็นครูทีละคน


การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

  • เราสมารถนำทฤษฎี โดยนำแนวคิดต่างๆมาใช้เป็นความรู็ในการนำมาจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะให้แก่เด็กปฐมวัยได้
  • นำแบบอย่างการสอนของอาจารย์มาเป็นแนวทางปรับใช้กับการสอนของตัวเราเอง
  • ในการให้เด็กปฐมวัยเคลื่อนไหวนั้นไม่ควรเป็นท่าที่ใช้กำลังหรือเป็นท่าสำหรับออกกำลังกายมากจานเกินไปควรเน้นการบริหารสมองมากกว่า

การประเมินผล

การประเมินตนเอง

ตั้งใจในการนำเสนอและฟังเพื่อนนำเสนอเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ ในการลงมือปฏิบัติในคาบเรียนกิจกรรมก็ตั้งใจให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก

การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีการเตรียมเนื้อหาในการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ในการทำกิจกรรมก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี 

การประเมินอาจารย์ 

อาจารย์ทั้ง สองท่านเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีในการที่จะให้ความรู้แก่นักศึกษา อาจารย์จะมีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำในทุกคาบที่เจอกันรวมไปถึงข้อคิดที่จะให้นักศึกษาด้วย เป็นห่วงนักศึกษาจากใจจริง

จบการบันทึกครั้งที่ 4 

SEE YA

























    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น